มารู้จัก โรค ออฟฟิศซินโดรม (บาลานส์ แอสต้า แซนธิน พลัส)
  • 20 สิงหาคม 2020 at 15:16
  • 8185
  • 0

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยไม่ขยับ ผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง รวมไปถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง
 
- ออฟฟิศซินโดรม สาเหตุ กลุ่มคนที่จะเป็นเกิดจาก??
• การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ
• การใช้สายตามากจนเกินไป
• ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม
• การนั่งรถที่มีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานาน
• สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม
• ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย
 
- จะมีอาการ??
ถ้าหากกล้ามเนื้อหดเกร็งตัวสะสมต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน จากการปวดอาจกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง หรือมีอาการรุนแรงมาก ทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือเกิดกระดูกทับเส้นประสาทได้
• ปวดตึงที่คอ บ่า ไหล่
• ปวดหลัง เมื่อยบั้นเอว
• ปวดขา และตึงที่ขา
• ปวดศีรษะ ไมเกรน
• ปวดล้าสายตา ร้าวไปที่ขมับ
 
- วิธีการดูแล ตัวเอง
ไม่ควรละเลยเรื่องการออกกำลังกายหรือกายบริหารและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายควรทำอะไรที่ทำง่ายและทำได้ทันที เช่น ยืดเหยียด ปั่นจักรยาน เล่นโยคะ ว่ายน้ำ วิ่ง และควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สภาพแวดล้อมในออฟฟิศก็ต้องมีการปรับ เช่น เก้าอี้นั่งให้เหมาะกับสรีระ โต๊ะทำงานและคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับที่พอเหมาะ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้กล้ามเนื้อได้มีการฟื้นฟู การรักษาด้วยยา แพทย์อาจจะจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ หรือยาทาแก้ปวดเมื่อย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ในกรณีที่มีอาการป่วยแบบเรื้อรัง หรือมีอาการรุนแรง หมอจะแนะนำให้ใช้ศาสตร์ฟื้นฟู นวดการแพทย์แผนไทยหรือทำกายภาพบำบัด การฝึกพิลาทีส การฝังเข็ม ครอบแก้ว เป็นต้น
 
 
- อาหารเสริมหรือสมุนไพรตัวไหน
ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของออฟฟิศซินโดรม
 
1. แอสต้าแซนธิน เป็นหนึ่งในสารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดสีแดงหรือสีชมพูในพืชหรือสัตว์ ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยและการเสื่อมของเซลล์ก่อนวัยอันควร มีการศึกษาอย่างมากมาย พบว่า การรับประทานแอสต้าแซนธีน (Astaxanthin) เป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ ช่วยให้สุขภาพตาดีขึ้น ป้องกันตาแห้ง ตาอ่อนล้า ลดอาการเจ็บตา ตาแดง ช่วยปัญหาด้านการมองเห็น เช่น อาการมองไม่ชัด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตาอีกด้วย นอกจากนี้ การศึกษาพบว่าหลังการประทานแอสต้าแซนธิน (Astaxanthin) ขนาด 4 – 12 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลานาน 2 – 3 สัปดาห์ สามารถลดความเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าและกล้ามเนื้อได้ บรรเทาอาการปวดไขข้ออักเสบ เพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายให้ทนและนานขึ้น
 
2. ขมิ้นชัน มีรายงานการศึกษาวิจัยระบุว่า เมื่อใช้สารสกัดขมิ้นชันในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เปรียบเทียบกับยาไอบูโปรเฟน (I buprofen) ซึ่งเป็นยากลุ่ม NSAIDs เหมือนกับยาไดโคลฟิแนคแล้วพบว่ามีฤทธิ์เทียบเท่ากัน และมีอาการข้างเคียงในกระเพาะอาหารน้อยกว่า จะเห็นได้ว่าสารสกัดขมิ้นชันนั้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ ทั้งในระบบทางเดินอาหารและการอักเสบของเนื้อเยื่อและเซลล์ที่ถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ รวมถึงการอักเสบในกล้ามเนื้อและกระดูก แถมยังมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยกว่าการใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs อีกด้วย
 
3. วิตามินอี มีประสิทธิภาพมากต่อกล้ามเนื้อ จากการที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง ช่วยในการปกป้องเซลล์ในร่างกาย การออกกำลังกายอย่างหนักทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย เมื่ออนุมูลอิสระเหล่านี้สะสมตัวเพิ่มขึ้น ร่างกายจะมีสารพิษมากขึ้น ทำให้การทำงานของร่างกายเสื่อมถอยลง รวมถึงการสร้างกล้ามเนื้อและการฟื้นฟูกล้ามเนื้อด้วย วิตามินอีจะจัดการอนุมูลอิสระเหล่านี้ และกำจัดมันออกจากร่างกาย เมื่อมีอนุมูลอิสระลดลง ก็จะลดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อลงได้ด้วย
 
ด้วยความห่วงใยจาก Wellnees care
พท.ชัชสรัญ ตรีทิพยรักษ์