สุขภาพดีเริ่มต้นที่ภูมิคุ้มกัน
  • 9 กรกฎาคม 2020 at 13:46
  • 1314
  • 0

 

สุขภาพดีเริ่มต้นที่ภูมิคุ้มกัน

-ภูมิคุ้มกันคืออะไร

เป็นกลไกการทำงานของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ดูแลและป้องกัน ไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากพวกสิ่งแปลกปลอม ยกตัวอย่างเช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา สารเคมี และอนุมูลอิสระ ที่เข้ามาทำร้ายร่างกาย จึงเรื่องสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

 

-แบ่งออกเป็นกี่ระบบ

 

ภูมิคุ้มกันจะมี 2 ประเภท คือ ภูมิคุ้มกันที่ร้างกายมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด และภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาภายหลัง ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับโรค ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนามากขึ้น ทำให้สามารถผลิตภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ให้แก่ร่างกายได้ เช่น การฉีดวัคซีน ปลูกฝี เซรุ่ม เป็นต้น หรือการรับประทานสมุนไพรที่เข้าไปช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 

-การทำงานเป็นอย่างไร

ด่านป้องกันเชื้อโรคของร่างกายด่านแรก คือ ผิวหนัง ซึ่งสามารถขับกรดบางชนิดออกมากับเหงื่อช่วยในการยับยั้งแบคทีเรีย น้ำตาและน้ำลายก็มีฤทธิ์ทำลายเชื้อโรคได้ ในระบบทางเดินอาหารก็มีกรดเเละเมือกคอยกำจัดเชื้อโรค รวมทั้งเยื่อเมือกที่อยู่ในระบบหายใจด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากเชื้อโรคสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้จะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่กินเชื้อโรค รวมทั้งร่างกายยังสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี เพื่อที่จำจะจดจำสิ่งแปลกปลอมและวิธีต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้ลดโอกาสการติดเชื้อในครั้งต่อไป

 

-การสร้างภูมิคุ้มกันได้แก่อะไรบ้าง

ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้น การดูแลสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต  

1. ไม่สูบบุหรี่

2. เน้นรับประทานอาหารจำพวกผลไม้ ธัญพืช และไขมันดี

3. ออกกำลังกายเป็นประจำ

4.   ระวังการใช้ของร่วมกับผู้อื่น

5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

6.  ล้างมือบ่อยๆ และไม่ควรรับประทานอาหารสุกๆ ดิบ

 

นอกจากนี้ สารสกัดจากสมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง พลูคาว มะขามป้อม ขมิ้นชัน เป็นต้น มีรายงานว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ประเทศไทยเรามีสมุนไพรหลากหลายชนิดในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ และเชื่อกันว่าเป็นอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของร่างกาย แต่หากเกิดความผิดปกติ เช่น มีการติดเชื้อบ่อยขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด หากปล่อยปละละเลยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยร้ายแรงภายหลังได้

 

บทความโดย พท. ชัชสรัญ ตรีทิพยรักษ์ (แพทย์แผนตะวันออกผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร)